การโคจร หรือการเคลื่อนที่ไปของดาวทุกดวง ยกเว้นอาทิตย์และจันทร์(ไม่มีการพัก เสริด มนต์)
เฉพาะดาวบางดวงก็มีอาการเคลื่อนที่ไปอย่างผิดปกติ ถ้าโคจรเร็วกว่าปกติ เราก็ เรียกว่าเสริด ถ้าช้ากว้าปกติหรือถอยหลังเรียกว่าพักร แต่ถ้าอยู่ในราศีหนึ่งนานกว่าปกติเรียกว่ามนท์
เฉพาะดาวบางดวงก็มีอาการเคลื่อนที่ไปอย่างผิดปกติ ถ้าโคจรเร็วกว่าปกติ เราก็ เรียกว่าเสริด ถ้าช้ากว้าปกติหรือถอยหลังเรียกว่าพักร แต่ถ้าอยู่ในราศีหนึ่งนานกว่าปกติเรียกว่ามนท์
ดาวทั้งหมด
เว้นแต่ราหู เกตุและมฤตยู ต่างเป็นเจ้าครองประจำราศีทั้ง ๑๒ ราศี เรียกว่า เกษตร
หรือเรียกว่าเจ้าเรือน เสมือนดาวนั้นๆเป็นเจ้าของบ้านของตัวเอง
แต่จะมีดาวเคราะห์ที่ครอง
๒ ราศี คือ
ดาวอังคาร (ราศีเมษ,ราศีพิจิก)
ดาวพฤหัสบดี (ราศีธนู,ราศีมีน)
ดาวพุธ (ราศีมิถุน,ราศีกันย์)
ดาวศุกร์ (ราศีพฤษภ,ราศีตุลย์)
ดาวอังคาร (ราศีเมษ,ราศีพิจิก)
ดาวพฤหัสบดี (ราศีธนู,ราศีมีน)
ดาวพุธ (ราศีมิถุน,ราศีกันย์)
ดาวศุกร์ (ราศีพฤษภ,ราศีตุลย์)
พักร
เมื่อดาวเคราะห์ใดทิ้งระยะห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น กำลังเคลื่อนของดาวนั้นจะช้าลงหรือถอยหลัง
เรียกว่าดาวดวงนั้นพักร เพราะเมื่อถอยห่างจากดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์นั้นก็เสียกำลังดึงดูดที่ได้จากดวงอาทิตย์ไปทีละเล็กละน้อย ดาวเคราะห์จึงมีอาการพักร
เสริด
เมื่อดาวเคราะห์ใดเคลื่อน เข้าระยะใกล้กับอาทิตย์ย่อมใกล้เข้าไปก็ได้กำลังดึงดูดจากอาทิตย์มากขึ้น
ดังนั้นจึงเพิ่มกำลังความเร็วขึ้น เรียกว่าเสริด
มนท์ คือดาวเคราะห์โคจรอยู่ในลักษณะเริ่มช้าลง
พิกัดแต่ละวันเริ่มลดลงๆ เป็นอย่างนั้นอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็กลับโคจรย้อนวิถี
ดาวเคราะห์แต่ละดวง
ต่างก็มีวิถีโคจรของตนเองเป็นอิสระ และโคจรรอบโลกแบบทวนเข็มนาฬิกา
ยกเว้นเฉพาะราหูและเกตุซึ่งโคจรนอกแบบ คือโคจรตามแบบเข็มนาฬิกา
ดาวดวงไหนอยู่ใกล้โลกช่องราศีจะแคบ(อันโตนาที) การโคจรเพื่อให้ผ่านพ้นสุดราศีก็ใช้เวลาเร็วส่วนดาวดวงไหนที่อยู่ห่างไกลออกไป
ยิ่งห่างออกไปมากช่องราศีก็ยิ่งกว้าง การโคจรเพื่อให้ผ่านพ้นราศีหนึ่งๆ
ก็ต้องกินเวลานานกว่าตำแหน่งของดาวที่อยู่ใกล้โลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น