ธาตุของราศี
เมื่อเราจำราศีและความหมายของราศีได้ดีแล้ว
เราต้องรู้จักธาตุของราศีต่อไป
ลักษณะของราศีต่างๆดังนี้
ไฟ น้ำ ลม ดิน
๑.
ราศีชั้นหนึ่ง เมษ กรกฏ ตุลย์ มังกร
๒.
ราศีชั้นสอง สิงห์ พิจิก กุมภ์ พฤษภาคม
๓.
ราศีชั้นสาม ธนู มีน เมถุน กันย์
การแบ่งออกเป็น
๓ ลักษณะนี้ก็คล้ายๆกับ “ไตรลักษณ”
ของพุทธศาสนาคือ ความเป็นอนิจจังทุกขัง และอนัตตา
ความเคลื่อนไหว เวลา และอากาศ คือ
๑.
ความเคลื่อนไหว ได้แก่ ราศีชั้นหนึ่ง คือ เมษ กรกฏ
ตุลย์ มังกร (บางทีเรียกว่า
ราศีทวารหรือ จรราศี)
๒. เวลา
ได้แก่ ราศีชั้นสอง คือ พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์ (สถิรราศี)
๓. อากาศ
ได้แก่ ราศีชั้นสาม คือ เมถุน กันย์ ธนู มีน (อุภัยราศี)
แปลความให้เข้ากับหลักไตรลักษณ์ของพุทธศาสนา
อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (ราศี “ความเคลื่อนไหว”) ทุกขัง แปลว่าเป็นทุกข์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์
เทียบได้กับราศีชั้นสอง (ราศีแห่ง “กรรมเก่า”) อนัตตา แปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
คือไม่ใช่ตัวตน เทียบได้กับ (ราศีชั้นสาม “อากาศ”)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น