โหราศาสตร์พลังจักรวาล


โหราศาสตร์พลังจักรวาลเรียนได้ทุกศาสนา


เรียนโหราศสาสตร์ พร้อมเปิดกระตุ้นจักระ

https://th-th.facebook.com/public/ณพ-อัครชัย-เส็งเจริญ



วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

มหาทักษา

มหาทักษา

มหาทักษา คือเรื่องเทวดาเสวยอายุ หรือพระเคราะห์เสวยอายุนั่นเอง มหาทักษามีประโยชน์ในการนำมาแก้ไขชะตาให้กับลูกค้า เพื่อจะได้บรรเทาเบาบางกรรมลงเป็นการช่วยด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร การเรียกค่าสะเดาะเคราะห์คราวละมากๆ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เขาทุกข์หนักขึ้น และแน่นอน กรรมนั้นย่อมตกแก่ผู้กระทำแน่นอน

หลายคยคงเคยได้ยิน คำว่า พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก แต่อาจไม่เข้าใจความหมาย คำว่า พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก หมายถึง พระศุกร์ได้เข้าเสวยอายุ แล้วพระเสาร์ซึ่งเป็นคู่ศัตรูกับพระศุกร์ได้เข้ามาแทรก ทำให้เกิดจุดดับ จุดแตก ของชีวิต มีตำราบางเล่มถึงกับระบุว่า คนเรามีโอกาสเสียชีวิตได้ ก็ต่อเมื่อมีดาวดวงหนึ่ง เข้าเสวยอายุแล้วมีดาวคู่ศัตรูเข้ามาแทรก

ให้นับกำลังพระเคราะห์ จากวันเกิด เวียนขวาไปตามทักษาจนถึงอายุย่าง ก็จะทราบว่า พระเคราะห์ใดเข้าเสวยอายุ

ตัวอย่างเช่น คนเกิด วันพุธ (กลางวัน) อายุย่าง ๕๐ ปี จะหาพระเคราะห์เสวยอายุได้ดังนี้

เกิดวันพุธ พระพุธ เข้าเสวยอายุก่อน ๑๗ ปี

ต่อมาพระเสาร์ เข้าเสวยอายุต่ออีก ๑๐ ปี
ถึงอายุ ๒๗ ปี

พฤหัสบดีเข้าเสวยอายุต่ออีก ๑๙ ปี
ถึงอายุ ๔๖ ปี

พระราหูเข้าเสวยอายุต่ออีก ๑๒ ปี
ถึงอายุ ๕๘ ปี

ดังนั้น เจ้าชะตามีอายุในขณะนี้ ๕๐ ปี แสดงว่าเป็นช่วงที่พระราหูกำลังเข้าเสวยอายุ ทำให้ชีวิตวุ่นวาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ชีวิตรัก ชีวิตคู่ มีปัญหา เข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีความ เจ้าชะตาควรทำพิธีรับพระเคราะห์ราหูเข้าเสวยอายุ เพื่อบรรเทาเบาบางกรรม หรือความวุ่นวายลงได้ไม่มากก็น้อย

จากตัวอย่าง ให้เจ้าชะตา ไปถวายสังฆทาน ๑ ชุด แด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วไปปล่อยชีวิตสัตว์ เท่าจำนวนกำลังพระราหู คือ ๑๒ ตัว แล้ว กราวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร และพระราหู ที่เข้าเสวยอายุ กลับมาบ้าน จุดธูป ๑๒ ดอก กล่าวคำบูชา พระราหู ๑๒ จบ

สำหรับดาวพระเคราะห์อื่นๆที่เข้าเสวยอายุ ก็ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือถวายสังฆทาน แล้วปล่อยชีวิตสัตว์ ตามกำลังพระเคราะห์นั้น คาถาบูชาพระที่เข้าเสวยอายุนั้น ก็มาจากบทสวดอิติปิโส นั่นเอง

ตั้งนะโม ๓ จบ
๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา
บทนี้ชื่อ กระทู้ ๗ แบก ประจำอยู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง
บทนี้ชื่อว่า ฝนแสนห่า ประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
บทนี้ชื่อ นารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ (ทิศใต้)
๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
บทนี้ชื่อ นารายณ์ถอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)
๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
บทนี้ชื่อ นารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)
๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ
บทนี้ชื่อ นารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา
บทนี้ชื่อ ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ)
๘. อา วิช สุ นุต สา นุส ติ
บทนี้ชื่อ นารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น