โหราศาสตร์พลังจักรวาล


โหราศาสตร์พลังจักรวาลเรียนได้ทุกศาสนา


เรียนโหราศสาสตร์ พร้อมเปิดกระตุ้นจักระ

https://th-th.facebook.com/public/ณพ-อัครชัย-เส็งเจริญ



วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ความหมายของภพในเรือนชะตาจักรราศี ( ภพที่ 5 - 8 )

                         ความหมายของภพในเรือนชะตาจักรราศี




ภพที่ 5 ปุตตะ หมายถึง  บุตร ผู้ใต้บังคับบัญชา คนใช้ เด็กๆ ผู้อ่อนอาวุโส สิ่งของและความคิดริเริ่มใหม่ๆ ความสนุกสนาน ความบันเทิงทางโลกีย์วิสัย ความคึกคะนอง ความประมาท การทำอะไรแบบง่ายๆ การเสิ่ยง ปุตตะเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาถึงความสุขความสำราญของชีวิต เพราะว่าเป็นภพที่อำนวยการและชักนำให้เจ้าชะตาไปสู่ความเพลิดเพลินของชีวิต จะดีหรือร้ายมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นกับราศีนี้ด้วย

ภพที่ 6 อริ หมายถึง ศัตรู คู่แข่งขัน อุปสรรค ความขัดแย้ง ความยุ่งยาก ความเดือดร้อน การกระทบกระแทก การชิงไหวชิงพริบ อุบัติเหตุ การต่อสู้ การงาน (รับใช้บริการ) ลูกจ้าง งานที่ได้รับเงินเดือน จะเป็นงานประเภทใด ชีวิตลูกจ้างจะดีหรือไม่ ดูจากภพนี้เป็นหลัก และยังหมายรวมถึง คนรับใช้ ลูกน้อง ถ้าเจ้าชะตาจะดูลูกน้องบริวารจะดีหรือไม่ ต้องดูภพนี้ และยังบ่งบอกถึงสุขภาพของเจ้าชะตา ป่วยไข้ด้วยโรคอะไร ส่วนไหนของร่างกาย และบ่งถึงสัตว์เลี้ยง (สัตว์เล็ก)

ภพที่ 7 ปัตนิ หมายถึง หุ้นส่วนชีวิต คนรัก คู่สมรส สามี ภรรยา ฝ่ายตรงข้าม คนต่างเพศ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างประจันหน้า  การลงทุน หุ้นส่วนทางธุรกิจ ปัตนิ เป็นภพที่อยู่ตรงข้ามกับภพที่ ๑ หมายถึง ตัวของเจ้าชะตาเอง แต่ภพที่๗ หมายถึงบุคคลอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเจ้าชะตา เช่น หุ้นส่วน ผู้ร่วมงาน คู่สมรสรวมถึงการสมรสและยังหมายถึง คู่แข่งขัน ศัตรูที่เปิดเผยการคบหากับสาธารณชนทั่วๆไป เส้นภพนี้คือเส้นขอบฟ้าตะวันตก ดังนั้นผู้ที่เกิดในช่วงค่ำ ดวงอาทิตย์มักจะลับขอบฟ้าไปแล้ว ตำแหน่งดาวอาทิตย์จะอยู่ในภพนี้


ภพที่ 8 มรณะ หมายถึง การเจ็บป่วย ตาย สูญหาย ความเสื่อม การพลัดพราก ความผิดหวัง การเดินทางไกลที่มีทุกข์ การหย่าร้าง ผลประโยชน์ที่พึงได้ มรดก มรณะ เป็นภพที่บอกถึง ความตาย มรดก เงินประกัน เงินของหุ้นส่วน หรือเงินของคู่ครอง คำว่า มรดก ในที่นี้ยังหมายถึงวัตถุ สิ่งของ การอุปการะ ช่วยเหลือ มิได้หมายถึงเพียงเงินของผู้ตาย เท่านั้น ยังหมายถึง การสิ้นสุดของเรื่องราวต่างๆ และถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ๆของชีวิตในการดูลักษณะแห่งการตายด้วยเรื่องดีร้ายอย่างไร อายุสั้น อายุยืน ต้องนำภพนี้มาเป็นหลักในการพิจารณา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น